




ปลากระรังจุดฟ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plectropomus leopardus
ชื่อสามัญ Blue-spotted coral trout
อนุกรมวิธาน
Phylum Vertebbrata
Class Teleostomi
Order Perciformes
Family Serranidae
Genus Plectropomus
Plectropomus leopardus
ปลากะรังจุดฟ้าหรือเรียกว่าปลากุดสลาด ที่มีชื่อสามัญว่า Blue-spotted coral trout เป็นปลาที่มีเนื้อสีขาว รสชาติดี อร่อยเป็น ที่นิยมของผู้บริโภค เป็นปลากะรังที่มีราคาแพง ปลาขนาด 0.8-1.2 กิโลกรัม ราคาขายตัวละ 750-850 บาทสูงกว่าปลาเก๋าดอกแดงหรือดอกดำ ที่มีราคาตัวละ 250 – 360 บาทในขณะที่ปลาเก๋าเสือ ตัวละ 400 – 600 บาท
ปลากะรังจุดฟ้ามีลำตัวแบนยาว (elongate) ความลึกของลำตัวเป็น 2.9 ถึง 3.9 เท่าของความยาวมาตราฐาน (standard length) ความยาวหัวยาง 2.7 ถึง 3.1 เท่าของความยาวมาตรฐาน บริเวณรอบดวงตาแบน ไม่มีเกร็ด ก้านซี่เหงือกจำนวน 6-10 อัน หลังมีก้านครีบแข็ง 7-8 ก้านครีบที่ 3 หรือ 4 ยาวที่สุด ก้านครีบอ่อน 10-12 อัน ครีบอกมีก้านครีบอ่อน 15 ถึง 17 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และก้านครีบอ่อน 8 อัน หางเป็นแบบตรงเว้ากลางเล็กน้อย(Emarginate) สีมีตั้งแต่สีเขียวมะกอกถึงแดงน้ำตาล,ส้มแดงถึงแดง จะมีจุดสีฟ้าเล็กๆบนหัว และลำตัว ยกเว้นส่วนใต้ท้อง จุดเด่นของปลากะรังชนิดนี้ก็คือ จะมีจุดเล็กๆสีฟ้ามากกว่า 10 จุดบนแก้ม(ข้างล่างและหลังตาถึงส่วนหลัง Preopercle) ปลาชนิดนี้จะอาศัยอยู่แนวปะการังที่มีความลึกตั้งแต่ 3 เมตร ถึง 100 เมตร ปลากระรังเป็นปลาหน้าดิน (demersal fishes) ชอบอาศัยที่ๆมีกองหินใต้น้ำตามวัสดุที่จมอยู่ใต้น้ำ เช่น กองหิน กองไม้ ยางรถยนต์
ชีววิทยาของปลากะรังจุดฟ้า
ปลากะรังจุดฟ้าหรือเรียกว่าปลากุดสลาด ที่มีชื่อสามัญว่า Blue-spotted coral trout ชนิดที่เพาะเลี้ยงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plectropomus leopardus มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Leopard Coralgrouper
ปลากะรังเป็นปลาที่สืบพันธุ์วางไข่ในทะเลและลูกปลาจะเข้ามาเจริญเติบโตอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล และปากแม่น้ำ ปลาชนิดนี้สามารถเปลี่ยนเพศได้ ขนาดสมบูรณ์เพศอายุประมาณ 3 ปี น้ำหนักตัวประมาณ 3 กิโลกรัม จะเป็นเพศเมียทั้งหมด เมื่อปลาเจริญเติบโตมีน้ำหนักตัวประมาณ 7 กิโลกรัม ก็จะเปลี่ยนเป็นเพศผู้ ดังนั้นการผสมพันธุ์ของปลาชนิดนี้ในธรรมชาติจะเกิดจากปลาเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่กับปลาเพศเมียที่มีขนาดเล็กกว่า ปลากะรังไม่สามารถอยู่ในน้ำจืดเช่นปลากะพงขาวได้ ดังนั้น สถานที่เลี้ยงปลากะรังจึงต้องมีความเค็มตลอดปี อย่างน้อยต้องมีความเค็มตั้งแต่ 10 ส่วนในพันขึ้นไป (ppt)
รูปร่างลักษณะ
ปลากะรังจุดฟ้ามีลำตัวแบนยาว (elongate) ความลึกของลำตัวเป็น 2.9 ถึง 3.9 เท่าของความยาวมาตราฐาน (standard length) ความยาวหัวยาง 2.7 ถึง 3.1 เท่าของความยาวมาตรฐาน บริเวณรอบดวงตาแบน ไม่มีเกร็ด ก้านซี่เหงือกจำนวน 6-10 อัน หลังมีก้านครีบแข็ง 7-8 ก้านครีบที่ 3 หรือ 4 ยาวที่สุด ก้านครีบอ่อน 10-12 อัน ครีบอกมีก้านครีบอ่อน 15 ถึง 17 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และก้านครีบอ่อน 8 อัน หางเป็นแบบตรงเว้ากลางเล็กน้อย(Emarginate) สีมีตั้งแต่สีเขียวมะกอกถึงแดงน้ำตาล,ส้มแดงถึงแดง จะมีจุดสีฟ้าเล็กๆบนหัว และลำตัว ยกเว้นส่วนใต้ท้อง จุดเด่นของปลากะรังชนิดนี้ก็คือ จะมีจุดเล็กๆสีฟ้ามากกว่า 10 จุดบนแก้ม(ข้างล่างและหลังตาถึงส่วนหลัง Preopercle) ปลาชนิดนี้จะอาศัยอยู่แนวปะการังที่มีความลึกตั้งแต่ 3 เมตร ถึง 100 เมตร
แพร่กระจายจากทิศใต้ของญี่ปุ่นถึงออสเตรเลีย และไปทางทิศตะวันออกของหมู่เกาะแคโรลีนและฟิจิ(Heemstra and Randall,1993)
นิสัยการกินอาหาร
ปลากะรังเป็นปลาที่มีนิสัยเชื่องช้า ไม่ชอบเคลื่อนไหว ไม่ว่องไว ชอบนอนตามซอกหิน กองหิน แต่เวลาหาเหยื่อปลากะรังจะพุ่งเข้าหาเหยื่ออย่างรวดเร็วและรุนแรง สามารถกินเหยื่อเกือบเท่าตัวเองได้เป็นปลาที่หากินตามพื้นท้องทะเล เนื่องจากองประกอบของอาหารที่พบในปลากะรัง ได้แก่ ปลา ปู กุ้ง หอยฯลฯ ซึ่งเป็นพวกที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล
แหล่งอาศัย
ปลากะรังมีอยู่ชุกชุมแถบทะเลเขตร้อน ได้แก่ ประเทศไทย , อินเดีย , ศรีรังกา พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ออสเตรเลียตอนเหนือ ทะเลแดง และทะเลอราเบียน ส่วนในเขตอบอุ่นพบบ้างแต่ไม่ชุกชุมนัก ปลากะรังเป็นปลาหน้าดิน ชอบอาศัยที่มีกองหินใต้น้ำตามวัสดุที่กองจมอยู่ใต้น้ำ เช่น กองหิน กองไม้ ยางรถยนต์ ฯลฯ บางครั้งจะเข้ามาหากินบริเวณตามปากแม่น้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plectropomus leopardus
ชื่อสามัญ Blue-spotted coral trout
อนุกรมวิธาน
Phylum Vertebbrata
Class Teleostomi
Order Perciformes
Family Serranidae
Genus Plectropomus
Plectropomus leopardus
ปลากะรังจุดฟ้าหรือเรียกว่าปลากุดสลาด ที่มีชื่อสามัญว่า Blue-spotted coral trout เป็นปลาที่มีเนื้อสีขาว รสชาติดี อร่อยเป็น ที่นิยมของผู้บริโภค เป็นปลากะรังที่มีราคาแพง ปลาขนาด 0.8-1.2 กิโลกรัม ราคาขายตัวละ 750-850 บาทสูงกว่าปลาเก๋าดอกแดงหรือดอกดำ ที่มีราคาตัวละ 250 – 360 บาทในขณะที่ปลาเก๋าเสือ ตัวละ 400 – 600 บาท
ปลากะรังจุดฟ้ามีลำตัวแบนยาว (elongate) ความลึกของลำตัวเป็น 2.9 ถึง 3.9 เท่าของความยาวมาตราฐาน (standard length) ความยาวหัวยาง 2.7 ถึง 3.1 เท่าของความยาวมาตรฐาน บริเวณรอบดวงตาแบน ไม่มีเกร็ด ก้านซี่เหงือกจำนวน 6-10 อัน หลังมีก้านครีบแข็ง 7-8 ก้านครีบที่ 3 หรือ 4 ยาวที่สุด ก้านครีบอ่อน 10-12 อัน ครีบอกมีก้านครีบอ่อน 15 ถึง 17 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และก้านครีบอ่อน 8 อัน หางเป็นแบบตรงเว้ากลางเล็กน้อย(Emarginate) สีมีตั้งแต่สีเขียวมะกอกถึงแดงน้ำตาล,ส้มแดงถึงแดง จะมีจุดสีฟ้าเล็กๆบนหัว และลำตัว ยกเว้นส่วนใต้ท้อง จุดเด่นของปลากะรังชนิดนี้ก็คือ จะมีจุดเล็กๆสีฟ้ามากกว่า 10 จุดบนแก้ม(ข้างล่างและหลังตาถึงส่วนหลัง Preopercle) ปลาชนิดนี้จะอาศัยอยู่แนวปะการังที่มีความลึกตั้งแต่ 3 เมตร ถึง 100 เมตร ปลากระรังเป็นปลาหน้าดิน (demersal fishes) ชอบอาศัยที่ๆมีกองหินใต้น้ำตามวัสดุที่จมอยู่ใต้น้ำ เช่น กองหิน กองไม้ ยางรถยนต์
ชีววิทยาของปลากะรังจุดฟ้า
ปลากะรังจุดฟ้าหรือเรียกว่าปลากุดสลาด ที่มีชื่อสามัญว่า Blue-spotted coral trout ชนิดที่เพาะเลี้ยงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plectropomus leopardus มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Leopard Coralgrouper
ปลากะรังเป็นปลาที่สืบพันธุ์วางไข่ในทะเลและลูกปลาจะเข้ามาเจริญเติบโตอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล และปากแม่น้ำ ปลาชนิดนี้สามารถเปลี่ยนเพศได้ ขนาดสมบูรณ์เพศอายุประมาณ 3 ปี น้ำหนักตัวประมาณ 3 กิโลกรัม จะเป็นเพศเมียทั้งหมด เมื่อปลาเจริญเติบโตมีน้ำหนักตัวประมาณ 7 กิโลกรัม ก็จะเปลี่ยนเป็นเพศผู้ ดังนั้นการผสมพันธุ์ของปลาชนิดนี้ในธรรมชาติจะเกิดจากปลาเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่กับปลาเพศเมียที่มีขนาดเล็กกว่า ปลากะรังไม่สามารถอยู่ในน้ำจืดเช่นปลากะพงขาวได้ ดังนั้น สถานที่เลี้ยงปลากะรังจึงต้องมีความเค็มตลอดปี อย่างน้อยต้องมีความเค็มตั้งแต่ 10 ส่วนในพันขึ้นไป (ppt)
รูปร่างลักษณะ
ปลากะรังจุดฟ้ามีลำตัวแบนยาว (elongate) ความลึกของลำตัวเป็น 2.9 ถึง 3.9 เท่าของความยาวมาตราฐาน (standard length) ความยาวหัวยาง 2.7 ถึง 3.1 เท่าของความยาวมาตรฐาน บริเวณรอบดวงตาแบน ไม่มีเกร็ด ก้านซี่เหงือกจำนวน 6-10 อัน หลังมีก้านครีบแข็ง 7-8 ก้านครีบที่ 3 หรือ 4 ยาวที่สุด ก้านครีบอ่อน 10-12 อัน ครีบอกมีก้านครีบอ่อน 15 ถึง 17 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และก้านครีบอ่อน 8 อัน หางเป็นแบบตรงเว้ากลางเล็กน้อย(Emarginate) สีมีตั้งแต่สีเขียวมะกอกถึงแดงน้ำตาล,ส้มแดงถึงแดง จะมีจุดสีฟ้าเล็กๆบนหัว และลำตัว ยกเว้นส่วนใต้ท้อง จุดเด่นของปลากะรังชนิดนี้ก็คือ จะมีจุดเล็กๆสีฟ้ามากกว่า 10 จุดบนแก้ม(ข้างล่างและหลังตาถึงส่วนหลัง Preopercle) ปลาชนิดนี้จะอาศัยอยู่แนวปะการังที่มีความลึกตั้งแต่ 3 เมตร ถึง 100 เมตร
แพร่กระจายจากทิศใต้ของญี่ปุ่นถึงออสเตรเลีย และไปทางทิศตะวันออกของหมู่เกาะแคโรลีนและฟิจิ(Heemstra and Randall,1993)
นิสัยการกินอาหาร
ปลากะรังเป็นปลาที่มีนิสัยเชื่องช้า ไม่ชอบเคลื่อนไหว ไม่ว่องไว ชอบนอนตามซอกหิน กองหิน แต่เวลาหาเหยื่อปลากะรังจะพุ่งเข้าหาเหยื่ออย่างรวดเร็วและรุนแรง สามารถกินเหยื่อเกือบเท่าตัวเองได้เป็นปลาที่หากินตามพื้นท้องทะเล เนื่องจากองประกอบของอาหารที่พบในปลากะรัง ได้แก่ ปลา ปู กุ้ง หอยฯลฯ ซึ่งเป็นพวกที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล
แหล่งอาศัย
ปลากะรังมีอยู่ชุกชุมแถบทะเลเขตร้อน ได้แก่ ประเทศไทย , อินเดีย , ศรีรังกา พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ออสเตรเลียตอนเหนือ ทะเลแดง และทะเลอราเบียน ส่วนในเขตอบอุ่นพบบ้างแต่ไม่ชุกชุมนัก ปลากะรังเป็นปลาหน้าดิน ชอบอาศัยที่มีกองหินใต้น้ำตามวัสดุที่กองจมอยู่ใต้น้ำ เช่น กองหิน กองไม้ ยางรถยนต์ ฯลฯ บางครั้งจะเข้ามาหากินบริเวณตามปากแม่น้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น