วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553



ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ Tomatoanemonefish, A. frenatus, Brevoort, 1856
ปลาเต็มวัยลำตัวมีสีดำอมแดง ครีบทุกครีบมีสีแดง มีแถบสีขาว 1 แถบ พาดขวางบริเวณหลังตา ปลาขนาดเล็กจะมีลำตัวและครีบเป็นสีแดง มีแถบขาวพาดขวางลำตัว 3 แถบ บริเวณหลังตา ตอนกลางของลำตัว และโคนหาง ในปลาวัยรุ่นแถบสีขาวที่โคนหางจะหายไปขนาดโตเต็มวัยประมาณ 12 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามลากูน หรือรอบนอกของแนวปะการัง มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor เคยมีรายงานว่าพบได้ในประเทศไทย (Allen, 2000) แต่ปัจจุบันไม่มีใครพบอีก (ธรณ์,2544) ปลาที่ซื้อขายในตลาดประเทศไทยเป็นปลาที่นำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย


ปลาการ์ตูนอินเดียนแดงPink skunk AnemonefishAmphiprion perideraion
ลำตัวมีสีเนื้ออมเหลืองทองอมชมพู มีแถบขาวพาดอยู่บริเวณหลังตา อาศัยในที่ลึกตั้งแต่ 3-25 เมตรขนาด โตที่สุดประมาณ 10-11 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla mertensii อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่


ปลาการ์ตูนส้มขาวClown AnemonefishAmphiprion ocellaris ( C u vier, 1830)
ลำตัวมีสีส้มเข้ม มีแถบสีขาว 3 แถบ พาดบริเวณส่วนหัว ลำตัวและบริเวณหาง ขอบของแถบสีขาวเป็นสีดำ ขอบนอกของครีบเป็นสีขาวและขอบในเป็นสีดำ อาศัยในที่ลึก ตั้งแต่1-15 เมตร ขนาดตัวโตที่สุดประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla gigantea เป็น ต้น ในดอกไม้ทะเลแต่ละกออาจพบปลาการ์ตูนชนิดนี้อยู่ด้วยกัน 6-8 ตัว ปลาการ์ตูนส้มขาวพบได้บ่อยที่สุดในทะเลอันดามัน อ่าวไทยพบได้ที่เกาะโลซิน จังหวัดนราธิวาส อาศัยอยู่เป็นครอบครัวใหญ่

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553
















ปลากระรังจุดฟ้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ Plectropomus leopardus
ชื่อสามัญ Blue-spotted coral trout
อนุกรมวิธาน
Phylum Vertebbrata
Class Teleostomi
Order Perciformes
Family Serranidae
Genus Plectropomus
Plectropomus leopardus
ปลากะรังจุดฟ้าหรือเรียกว่าปลากุดสลาด ที่มีชื่อสามัญว่า Blue-spotted coral trout เป็นปลาที่มีเนื้อสีขาว รสชาติดี อร่อยเป็น ที่นิยมของผู้บริโภค เป็นปลากะรังที่มีราคาแพง ปลาขนาด 0.8-1.2 กิโลกรัม ราคาขายตัวละ 750-850 บาทสูงกว่าปลาเก๋าดอกแดงหรือดอกดำ ที่มีราคาตัวละ 250 – 360 บาทในขณะที่ปลาเก๋าเสือ ตัวละ 400 – 600 บาท
ปลากะรังจุดฟ้ามีลำตัวแบนยาว (elongate) ความลึกของลำตัวเป็น 2.9 ถึง 3.9 เท่าของความยาวมาตราฐาน (standard length) ความยาวหัวยาง 2.7 ถึง 3.1 เท่าของความยาวมาตรฐาน บริเวณรอบดวงตาแบน ไม่มีเกร็ด ก้านซี่เหงือกจำนวน 6-10 อัน หลังมีก้านครีบแข็ง 7-8 ก้านครีบที่ 3 หรือ 4 ยาวที่สุด ก้านครีบอ่อน 10-12 อัน ครีบอกมีก้านครีบอ่อน 15 ถึง 17 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และก้านครีบอ่อน 8 อัน หางเป็นแบบตรงเว้ากลางเล็กน้อย(Emarginate) สีมีตั้งแต่สีเขียวมะกอกถึงแดงน้ำตาล,ส้มแดงถึงแดง จะมีจุดสีฟ้าเล็กๆบนหัว และลำตัว ยกเว้นส่วนใต้ท้อง จุดเด่นของปลากะรังชนิดนี้ก็คือ จะมีจุดเล็กๆสีฟ้ามากกว่า 10 จุดบนแก้ม(ข้างล่างและหลังตาถึงส่วนหลัง Preopercle) ปลาชนิดนี้จะอาศัยอยู่แนวปะการังที่มีความลึกตั้งแต่ 3 เมตร ถึง 100 เมตร ปลากระรังเป็นปลาหน้าดิน (demersal fishes) ชอบอาศัยที่ๆมีกองหินใต้น้ำตามวัสดุที่จมอยู่ใต้น้ำ เช่น กองหิน กองไม้ ยางรถยนต์

ชีววิทยาของปลากะรังจุดฟ้า
ปลากะรังจุดฟ้าหรือเรียกว่าปลากุดสลาด ที่มีชื่อสามัญว่า Blue-spotted coral trout ชนิดที่เพาะเลี้ยงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plectropomus leopardus มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Leopard Coralgrouper
ปลากะรังเป็นปลาที่สืบพันธุ์วางไข่ในทะเลและลูกปลาจะเข้ามาเจริญเติบโตอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล และปากแม่น้ำ ปลาชนิดนี้สามารถเปลี่ยนเพศได้ ขนาดสมบูรณ์เพศอายุประมาณ 3 ปี น้ำหนักตัวประมาณ 3 กิโลกรัม จะเป็นเพศเมียทั้งหมด เมื่อปลาเจริญเติบโตมีน้ำหนักตัวประมาณ 7 กิโลกรัม ก็จะเปลี่ยนเป็นเพศผู้ ดังนั้นการผสมพันธุ์ของปลาชนิดนี้ในธรรมชาติจะเกิดจากปลาเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่กับปลาเพศเมียที่มีขนาดเล็กกว่า ปลากะรังไม่สามารถอยู่ในน้ำจืดเช่นปลากะพงขาวได้ ดังนั้น สถานที่เลี้ยงปลากะรังจึงต้องมีความเค็มตลอดปี อย่างน้อยต้องมีความเค็มตั้งแต่ 10 ส่วนในพันขึ้นไป (ppt)

รูปร่างลักษณะ
ปลากะรังจุดฟ้ามีลำตัวแบนยาว (elongate) ความลึกของลำตัวเป็น 2.9 ถึง 3.9 เท่าของความยาวมาตราฐาน (standard length) ความยาวหัวยาง 2.7 ถึง 3.1 เท่าของความยาวมาตรฐาน บริเวณรอบดวงตาแบน ไม่มีเกร็ด ก้านซี่เหงือกจำนวน 6-10 อัน หลังมีก้านครีบแข็ง 7-8 ก้านครีบที่ 3 หรือ 4 ยาวที่สุด ก้านครีบอ่อน 10-12 อัน ครีบอกมีก้านครีบอ่อน 15 ถึง 17 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และก้านครีบอ่อน 8 อัน หางเป็นแบบตรงเว้ากลางเล็กน้อย(Emarginate) สีมีตั้งแต่สีเขียวมะกอกถึงแดงน้ำตาล,ส้มแดงถึงแดง จะมีจุดสีฟ้าเล็กๆบนหัว และลำตัว ยกเว้นส่วนใต้ท้อง จุดเด่นของปลากะรังชนิดนี้ก็คือ จะมีจุดเล็กๆสีฟ้ามากกว่า 10 จุดบนแก้ม(ข้างล่างและหลังตาถึงส่วนหลัง Preopercle) ปลาชนิดนี้จะอาศัยอยู่แนวปะการังที่มีความลึกตั้งแต่ 3 เมตร ถึง 100 เมตร
แพร่กระจายจากทิศใต้ของญี่ปุ่นถึงออสเตรเลีย และไปทางทิศตะวันออกของหมู่เกาะแคโรลีนและฟิจิ(Heemstra and Randall,1993)

นิสัยการกินอาหาร
ปลากะรังเป็นปลาที่มีนิสัยเชื่องช้า ไม่ชอบเคลื่อนไหว ไม่ว่องไว ชอบนอนตามซอกหิน กองหิน แต่เวลาหาเหยื่อปลากะรังจะพุ่งเข้าหาเหยื่ออย่างรวดเร็วและรุนแรง สามารถกินเหยื่อเกือบเท่าตัวเองได้เป็นปลาที่หากินตามพื้นท้องทะเล เนื่องจากองประกอบของอาหารที่พบในปลากะรัง ได้แก่ ปลา ปู กุ้ง หอยฯลฯ ซึ่งเป็นพวกที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล

แหล่งอาศัย
ปลากะรังมีอยู่ชุกชุมแถบทะเลเขตร้อน ได้แก่ ประเทศไทย , อินเดีย , ศรีรังกา พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ออสเตรเลียตอนเหนือ ทะเลแดง และทะเลอราเบียน ส่วนในเขตอบอุ่นพบบ้างแต่ไม่ชุกชุมนัก ปลากะรังเป็นปลาหน้าดิน ชอบอาศัยที่มีกองหินใต้น้ำตามวัสดุที่กองจมอยู่ใต้น้ำ เช่น กองหิน กองไม้ ยางรถยนต์ ฯลฯ บางครั้งจะเข้ามาหากินบริเวณตามปากแม่น้ำ

ปลาก้างพระร่วง

ชื่อสกุล Kryptopterus bicirrhis
ชื่อไทย เรียกกันว่าปลาก้างพระร่วง ปลาผี หรือปลากระจก
ชื่ออังกฤษ Glass Catfish
ถิ่นที่อยู่อาศัย ในประเทศไทยพบในลำห้วย ลำธาร อ่างน้ำตกแถวภาคใต้ ภาคตะวันออก และในแม่น้ำ บางแห่งบริเวณภาคกลางของประเทศ
รูปร่างลักษณะ เป็นปลาลำตัวแบนข้างตระกูลเดียวกับปลาเนื้ออ่อน แต่มีขนาดเล็กกว่า ปลาก้างพระร่วงเป็นปลาที่มีลักษณะแปลก คือลำตัวโปร่งใสมองเห็นโครงกระดูกภายใน มีหนวด 2 คู่ คู่แรกที่ริมฝีปากบนเป็นเส้นยาวชี้ไปข้างหน้า หนวดอีกคู่หนึ่งที่ริมฝีปากล่างมีขนาดสั้น ปลาก้างพระร่วงขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 – 15 ซม.
อุปนิสัย เป็นปลาที่ชอบอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ในตู้กระจกมักจะชอบลอยตัวนิ่ง ๆ อยู่บริเวณกลางตู้ ในแหล่งธรรมชาติชอบน้ำค่อนข้างใส และไหลรินอยู่ตลอดเวลา เป็นปลาชอบความสงบเงียบ ตื่นตกใจง่าย กินอาหารค่อนข้างช้า และไม่ชอบลงเก็บอาหารตามพื้นตู้ พันธุ์ปลาก้างพระร่วงขณะนี้ใช้วิธีเก็บรวบรวมจากแหล่งธรรมชาติ เพราะยังเพาะขยายพันธุ์ยาก
การเลี้ยงดู ในตู้เลี้ยงปลาก้างพระร่วงแอร์ปั้มเป็นสิ่งจำเป็น แต่ไม่ควรจะปล่อยให้แรงมากนักแผ่นกรองทำให้น้ำใสขึ้นเหมาะต่อปลาชนิดนี้ ปลาก้างพระร่วงมีลักษณะแปลก สวยงามและเลี้ยงไม่ยากเกินไปนัก นักเลี้ยงปลาตู้นิยมมาก อาหารที่เหมาะสมกับปลาชนิดนี้ได้แก่ ลูกน้ำ ไรแดง ไส้เดือน ตัวหนอน เป็นต้น ตู้เลี้ยงปลาก้างพระร่วงควรวางไว้ในที่สงบเงียบไม่มีแสงสว่างจนเกินไป ภายในตู้สามารถประดับด้วยพืชน้ำกิ่งไม้ ท่อนไม้ หิน กรวดทราย ตามความเหมาะสม และไม่ควรปล่อยปลากินปลาหรือปลานิสัยดุร้ายและปลาว่ายน้ำเร็วอื่น ๆ ลงไปด้วยสิ่งที่น่ารู้อื่น ๆ
ปลาก้างพระร่วงจัดเป็นพวกปลา แคทฟิช (Catfish) เรียกว่าปลาแมวหรือปลาหนัง ปลาพวกนี้เป็นต้นว่า ปลาเนื้ออ่อน ปลาเค้า ปลาชะโอน ปลาดุก ปลาสวาย ปลาแขยง ฯลฯ
ตามตำนานไทย เล่าว่าสมัยโบราณพระร่วงผู้มีวาจาสิทธิ์ ได้รับประทานปลาชนิดหนึ่งจนเหลือแต่ก้างแล้วทรงปล่อยลงน้ำ เอ่ยวาจาให้ปลามีชีวิตคืนมาเป็นปลาก้างพระร่วง

ปลาเสือข้างลาย

ชื่อสกุล Barbus tetrazona
ชื่อไทย ปลาเสือข้างลาย , เสือสุมาตรา
ชื่ออังกฤษ Tiger barb ,Sumatra barb , Five – banded barb
ถิ่นที่อยู่อาศัย พบในแม่น้ำลำคลอง อ่างเก็บน้ำ ธารน้ำตก ในเขตภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย สำหรับในต่างประเทศได้แก่ มาเลเซีย และตอนกลางของสุมาตรา เป็นต้น
รูปร่างลักษณะ ปลาเสือข้างลายลำตัวมีสีเหลืองอมเขียว หรือสีเหลืองอมน้ำตาล ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือ แถบดำห้าแถบที่พาดขวางลำตัวแต่สำหรับแถบที่สามอาจมองเห็นเพียงเป็นจุดดำบริเวณโคนครีบหลัง จากที่ลำตัวสีเหลืองสลับลายดำจึงทำให้ได้ชื่อว่า “ปลาเสือ” ปลาเสือข้างลายตัวผู้สีจะเข้มจัดกว่าตัวเมีย ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาขนาดเล็ก ที่มีความสวยงามและน่าสนใจมากชนิดหนึ่ง ปลาที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาเสือข้างลายมีอยู่หลายชนิด เช่น ปลาเสือทับทิมดำ ( Black ruby barb) ปลาเสือจีน ( Chinese barb) และบาร์บัส เพนตราโชนา เป็นต้น
อุปนิสัย ปลาเสือข้างลายจัดอยู่ในตระกูลปลาตะเพียนมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่ว่องไวปราดเปรียว ชอบเคลื่อนที่อยู่เสมอมีความรวดเร็วในการกินอาหาร ตู้กระจกที่เลี้ยงปลาเสือข้างลายแอร์ปั้มค่อนข้างเป็นสิ่งจำเป็นเพราะปลาเสือข้างลายเป็นปลาที่ชอบน้ำไหลอยู่ตลอดเวลา เช่นในน้ำตำ ลำห้วย ลำธาร ปลาเสือข้างลายจะร่าเริง และสุขสบายดีถ้าได้อยู่ในตู้ที่มีน้ำใสสะอาดและมีออกซิเจนสูง
การเลี้ยงดู อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาเสือข้างลายได้แก่ ไรน้ำ ลูกน้ำ ตัวหนอน แมลง ลูกกุ้งขนาดเล็กและหนอนแดง เป็นต้น ปลาเสือข้างลายถ้าเลี้ยงได้สมบูรณ์ดีสามารถวางไข่ได้ตลอดปี โดย คัดเลือกพ่อแม่ที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง ปล่อยลงในตู้สำหรับวางไข่ โดยมีพืชน้ำเตรียมไว้ให้ด้วยปลาเสือข้างลายแม้จะมีราคาไม่แพงนัก แต่สามารถเพาะขายได้ตลอดปี

ปลาเสือตอ

ชื่อสกุล Datnioides microlepis
ชื่อไทย เรียกกันว่าปลาเสือตอ หรือปลาลาด
ชื่ออังกฤษ Tiger fish , Siamess tigerfish , Gold datnoid
ถิ่นที่อยู่อาศัย มีชุกชุมบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ในแม่น้ำเจ้าพระยา บึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีพบที่แม่น้ำน่าน และแม่น้ำโขง ส่วนในต่างประเทศพบที่ กัมพูชา สุมาตรา พม่า บอร์เนียว มเลเซีย และอินโดนีเซีย
รูปร่างลักษณะ เป็นปลาที่มีรูปร่างค่อนข้างแปลก หัวแหลมท้ายกว้าง ลำตัวค่อนข้างลึกแบนข้าง ลำตัวสีครีมหรือสีน้ำตาลอ่อน จุดเด่นคือมีลายดำพลาดขวางลำตัว 6 ลาย จงอยปากยื่นยาว ปากกว้าง ดวงตากลมมีขนาดใหญ่ ครีบหลังมีหนามแหลมแข็งแรง ครีบหางกลมแบบพัด ในแหล่งน้ำธรรมชาติอาจพบ มีความยาวประมาณ 40 ซม. สำหรับปลาเพศผู้หรือเมียค่อนข้างดูยาก
อุปนิสัย ตามธรรมชาติปลาเสือตอชอบหากินอยู่ในระดับน้ำลึกประมาณ 2 – 3 เมตร ไม่ชอบที่ซึ่งมีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นหนาแน่น แต่ชอบอยู่ในที่ซึ่งมีเสาหลักต่อไม้ใต้น้ำ คอยจ้องจับเหยื่อโดยแฝงตัวอยู่อย่างเงียบ ๆ ซึ่งการชอบอาศัยอยู่ที่ตอไม้นี่เองจึงถูกเรียกว่าปลาเสือตอ ปลาเสือตอตัวใหญ่ ๆ อาจมีน้ำหนักถึง 5 กิโลกรัม และมีไข่เป็นจำนวนมากหลายแสนฟอง ถ้าเลี้ยงให้สมบูรณ์ดีอาจจับคู่วางไข่ในบ่อหรือในตู้กระจกได้ แต่ปัจจุบันนี้นิยมใช้วิธีผสมเทียมมากกว่า ปลาเสือตอเดิมเป็นปลาแม่น้ำที่จับขึ้นมาเพื่อบริโภคเพราะเป็นปลาเนื้อดีรสอร่อยและมีราคาแพง เช่นที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งปลาเสือต่อขึ้นชื่อมาก ปัจจุบันมีผู้นิยมเลี้ยงเป็นสวยงาม และค่อนข้างหายากขึ้น
การเลี้ยงดู ปลาเสือตอถ้านำมาเลี้ยงในบ่อหรือในตู้กระจกควรใช้ท่อนไม้ รากไม้น้ำแทนพืชน้ำ เพราะมันชอบอย่างนั้น แต่ก็สามารถใช้พืชน้ำได้ถ้าจำเป็น ปลาเสือตอจะพยายามสร้างที่หลบมุมด้วยเศษไม้บริเวณมุมตู้ ไม่ค่อยชอบออกมาโชว์ตัวให้เห็นบ่อยนัก นอกจากเวลาต้องการอาหาร อาหารที่ใช้เลี้ยงได้แก่ลูกกุ้ง ลูกปลา ตัวแมลง และถ้าฝึกให้ดีในตู้กระจกอาจให้เนื้อปลา เนื้อกุ้งก็ได้ไม่ควรปล่อยปลาเสือตอรวมกับปลาอื่น นอกจากปลาเสือตอด้วยกัน

ปลากระดี่นาง

ชื่อสกุล Trichogaster microlepis
ชื่อไทย ทั่ว ๆ ไป เรียกกระดี่นาง บางแห่งเรียก กระเดิด
ชื่ออังกฤษ Moonbeam gourami , Moonlight gourami
ถิ่นที่อยู่อาศัย เช่นเดียวกับปลากระดี่หม้อ คือพบตามแหล่งน้ำทั่วไปในทุกภาคของประเทศ ต่างประเทศมีในแถบอินโดจีน
รูปร่างลักษณะ โดยทั่วไปคล้ายคลึงกับกระดี่หม้อ แต่ตามลำตัวและครีบไม่มีลาย เกล็ดบริเวณลำตัวเป็น สีขาวเงินหรือสีฟ้าอ่อน ครีบต่าง ๆ สีขาว ปลากระดี่นางลำตัวขาวปลอดไม่มีจุดดำ ขนาดตัวโตกว่ากระดี่หม้อเล็กน้อย ฝรั่งเรียก “มูน บีน หรือ มูนไลท์” ซึ่งตรงกับคำว่า ปลากระดี่แสงจันทร์
อุปนิสัย ชอบอยู่ในน้ำนิ่งระดับน้ำไม่ลึกนัก และว่ายน้ำหากินอยู่ตามกอหญ้า นาข้าว พันธุ์ไม้น้ำ ต่าง ๆ กระดี่นางมักอาศัยปะปนอยู่กับกระดี่หม้อ แต่มีจำนวนไม่มากนัก หายากกว่ากระดี่หม้อ ผู้ที่มีความชำนาญอาจมองหวอดปลากระดี่ออกว่าหวอดไหนเป็นกระดี่หม้อหรือกระดี่นาง หวอดกระดี่นางมีผู้ตักช้อนมาเลี้ยงไว้ในบ่อหรืออ่างกว้าง ๆ แล้วนำลูกที่เลี้ยงได้ขนาดส่งขายตลาดปลาสวยงาม
การเลี้ยงดู กระดี่นางเป็นปลาที่มีความงดงาม สีขาวปลอด เลี้ยงในตู้กระจกได้เป็นอย่างดีความอดทนพอ ๆ กับกระดี่หม้อ และมีเครื่องช่วยหายใจพิเศษเช่นเดียวกัน ในสภาพที่น้ำไม่ดีนักกระดี่นางก็จะโผล่ริมฝีปากขึ้นมาฮุบเอาอากาศหายใจได้ การให้อาหารก็เช่นเดียวกับกระดี่หม้อ ในฤดูผสมพันธุ์ กระดี่นางตัวผู้นอกจากสังเกตจากครีบหลังเช่นกระดี่หม้อ แล้วขอบครีบก้นของปลาตัวผู้จะขึ้นสีเป็นสีส้มอีกด้วย










ปลาไน หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาคาร์ป (อังกฤษ: carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyprinus carpio อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่เชื่อว่าเป็นปลาที่มนุษย์เลี้ยงเป็นชนิดแรกของโลกเพื่อเป็นอาหาร โดยเลี้ยงในประเทศจีนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยเริ่มพร้อมกับปลาทอง
เป็นปลาที่มีรูปร่างป้อม แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวลาด ปากมีขนาดเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ครีบหลังค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นเว้าแฉกลึก สีลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำอมทองหรือน้ำตาลอ่อน ท้องสีจาง บางตัวอาจมีสีสัน ปลาตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณใบหน้า และครีบอก ผสมพันธุ์และวางไข่ได้ทุกฤดูโดยวางติดกับพืชน้ำ
ปลาไนมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1.5 เมตร หนักกว่า 6 กิโลกรัม และสามารถวางไข่ได้ถึง 1 แสนฟอง ชอบอาศัยรวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำไหลเชี่ยว และสามารถปรับตัวได้ทุกสภาพแหล่งน้ำ แต่จะไม่วางไข่ในแหล่งน้ำนิ่ง เป็นปลาพื้นเมืองของประเทศจีนตะวันตกและภูมิภาคยุโรปตะวันออก ปลาไนมีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า หลีฮื้อ (ในภาษาไทยเรียกรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีความใกล้เคียงกันว่า ปลาจีน) นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด จัดเป็นปลาที่มีรสชาติดี เนื้อนุ่ม อร่อย และมีราคาแพง แต่ในบางภูมิภาค เช่น ออสเตรเลีย ปลาไนได้ถูกนำเข้าและถูกปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาต้ จนแพร่ขยายพันธุ์กระทบต่อสัตว์น้ำพื้นเมืองเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ มีฉายาเรียกว่า "กระต่ายแม่น้ำ" (River Rabbit)
ปลาทอง
ปลาทอง เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงต่อในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกาในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนและญี่ปุ่นรับเป็นชาติแรกที่รู้จักวิธีการผสมพันธุ์ปลาทอง ซึ่งได้ทำกันมานานแล้วและมีการพัฒนามาเรื่องได้ปลาทองลูกผสมที่น่าสนใจ มีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาวแม้กระทั้งปลาทองสารพัดสีในตัวเดียวกัน
ปลาทองหัวสิงห

การเลี้ยงปลาทองมีประวัติดังนี้เดิมที่ปลาทองมักจะอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติจนกระทั่งมีชาวจีนบางคนได้ได้จับมาเลี้ยงตามบ่อ เนื่องจากเป็นปลาที่สวยงามและมีสีสันแปลกตาสามารถสร้างความเพลิดเพลินใจได้เป็นอย่างดีดังนั้นจึงนิยมเลี้ยงกันสืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน อีกทั้งยังมีการพัฒนาปลาทองแล้วส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งประเทศญี่ปุ่นนับว่าเป็นประเทศที่พัฒนาวงการปลาสวยงามไำด้ดีมีการส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก